วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดสุรินทร์


ประชุมขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสุรินทร์

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

จังหวัดสุรินทร์

เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นายปิติธรรม ฐิติมนตรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
เป็นประธานเปิดงานประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการ
ดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีนายกสิณ นวลโคกสูง
พัฒนาการจังหวัดสุรินทร์ ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงาน
กองทุนหมู่บ้าน ระดับจังหวัด กล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการฯ พร้อมด้วย
หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน พัฒนาการอำเภอเมืองสุรินทร์ ,
พัฒนาการอำเภอศรีณรงค์ ,พัฒนาการอำเภอลำดวน,พัฒนาการอำเภอจอมพระ ,
พัฒนาการอำเภอโนนนารายณ์, พัฒนาการอำเภอชุมพลบุรี, พัฒนาการอำเภอท่าตูม
,พัฒนาการอำเภอปราสาท , รักษาการหัวหน้า สทบ. สาขา ๗ ,นักวิชาการจังหวัดสุรินทร์
และ พนักงานสทบ. สาขา
โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมือง รวม ๓๓๗ คน แยกเป็น คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบล ๆ ละ
๒ คน จำนวน ๑๕๘ ตำบล รวม ๓๑๖ คน คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนชุมชนเมือง
จำนวน ๔ คน เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่รับผิดชอบงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
จำนวน ๑๗ อำเภออำเภอละ ๑ คน รวม ๑๗ คน โดยดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการ
ขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดสุรินทร์ กำหนดระยะเวลา ๑ วัน
ได้รับการสนับสนุนวิทยากรจากสำนักงานอัยการจังหวัดสุรินทร์,รองศาสตราจารย์ บุญยัง หมั่นดี
(อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์), ประธานกองทุนหมู่บ้านไผ่ หมู่ที่ ๑๓
ตำบลไผ่ อำเภอรัตนบุรี, ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
และทีมวิทยากรสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์

จังหวัดสุรินทร์มีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทั้งสิ้น ๒,๑๔๔ กองทุนจดทะเบียน

เป็นนิติบุคคลแล้ว จำนวน ๒,๑๒๐ กองทุน คิดเป็น ร้อยละ ๙๘.๘๘ อยู่ระหว่างดำเนินการ

จำนวน ๒๔ กองทุน คิดเป็นร้อยละ ๑.๑๒ ได้รับเงินเพิ่มทุนระยะที่ ๒ จำนวน ๒,๐๖๑ กองทุน

เป็นเงินทั้งสิ้น ๔๕๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (-สี่ร้อยห้าสิบห้าล้านห้าบาทถ้วน-) คิดเป็น

ร้อยละ ๙๗.๒๒ ของกองทุนทั้งหมด สามารถพัฒนายกระดับเป็นสถาบันการเงินชุมชนแล้ว

จำนวน ๑๖ แห่ง เป็นสถาบันการเงินชุมชนต้นแบบตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

จำนวน ๑๑ แห่ง ,สถาบันการเงินชุมชน ๕ แห่ง รวมเงินทุนหมุนเวียนทั้งสิ้น

๓,๗๖๘,๗๑๐,๐๖๔ บาท

(-สามพันเจ็ดร้อยหกสิบแปดล้านเจ็ดแสนหนึ่งหมื่นหกสิบสี่บาทถ้วน-)

โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

และ สำนักงานเลขานุการคณะอนุกรรมการสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านระดับจังหวัด

โดยความเห็นชอบของ

อนุกรรมการสนับสนุนฯระดับจังหวัด จึงได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนการดำเนินงาน

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดสุรินทร์ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการ

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ในการบริหารจัดการ

กองทุนและ มีขีดความสามารถในการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ

กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

จังหวัดสุรินทร์ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุมริมธารา

สวนป่ารีสอร์ท อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

หัวข้อบรรยาย เศรษฐกิจพอเพียงกับแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

(โดย รศ.บุญยัง หมั่นดี )

หัวข้อบรรยาย แนวทางการปฏิบัติกรณีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองประสบปัญหาฯ

ต้องดำเนินการแจ้งความ/ฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและทางอาญาและแนวทางการดำเนินการ

หลังเสร็จสิ้นกระบวนการทางศาล(อัยการจังหวัดสุรินทร์)

หัวข้อบรรยายน การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีอย่างเป็นระบบ

โดย นายประหยัด พุดจีบ ตำแหน่งประธานกองทุนหมู่บ้านไผ่ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลไผ่

อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

กิจกรรมแบ่งกลุ่ม ๘ กลุ่ม ระดมความคิดแนวทางการขับเคอนการดำเนินงาน

กองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมือง พ.ศ. ๒๕๕๔

(โดยทีมจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ อภิปรายผลการระดมความคิดแต่ละกลุ่ม


ผู้ติดตาม